คนไทยก็ทำได้…นวัตกรรมคัดกรองโควิด -19 จากลมหายใจ ตรวจได้แบบไม่ต้องเจ็บตัว
Main

คนไทยก็ทำได้…นวัตกรรมคัดกรองโควิด -19 จากลมหายใจ ตรวจได้แบบไม่ต้องเจ็บตัว

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทุนสนับสนุน นวัตกรรมคัดกรองโควิด -19 จากลมหายใจ ตรวจได้แบบไม่ต้องเจ็บตัว นักวิจัยเผยใช้จมูกอิเล็กทรอนิกส์ผสานกับแมชชีนเลิร์นนิ่งและเอไอ แยกแยะกลิ่นคนติดเชื้อได้ รู้ผลใน 5 นาที คาดผลิตจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ภายในสิ้นปีนี้ ชมต้นแบบและทดลองใช้งานจริงที่งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 วันนี้ (3ส.ค.)ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่าปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)เป็นหนึ่งในปัญหาที่มีความสำคัญ และยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันซึ่งหากไม่มีมาตรการหรือยุทธศาสตร์เชิงรุกในการควบคุมเชื้อโรคได้ดีอาจจะทวีความรุนแรงขึ้นได้อีกในอนาคตสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมจึงให้ทุนสนับสนุน “การพัฒนาระบบต้นแบบเครื่องตรวจคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบไม่เจ็บตัวโดยการวิเคราะห์โปรไฟล์จากลมหายใจ” ผลงานของ “นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูลและคณะ” ที่ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์รูปแบบใหม่เพื่อเป็นทางเลือกในการคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่านวัตกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากการบูรณาการความเชี่ยวชาญของทีมผู้พัฒนาที่มาจากหลายหน่วยงานซึ่งประกอบด้วยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ โรงพยาบาลราชวิถีมหาวิทยาลัยมหิดลและภาคเอกชนโดยระบบต้นแบบเครื่องตรวจคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19โดยใช้ลมหายใจนี้ถือเป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยฯ ที่ไม่ต้องเจ็บตัวไม่ต้องแยงจมูกไม่ต้องเจาะเลือดและไม่ต้องใช้น้ำลาย ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่มีความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ(specificity)สูงสามารถรู้ผลตรวจได้ภายใน 5นาทีทำให้สามารถทำการคัดแยกผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อให้ออกมาได้อย่างรวดเร็วสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันท่วงทีและลดโอกาสในการระบาดของเชื้อโควิด-19ในวงกว้างได้โดยมีค่าใช้จ่ายในการตรวจไม่เกิน 10บาท/คน ด้านดร.เธียร์สิทธิ์ นาสัมพันธ์ นักวิจัยหลังปริญญาเอกจากภาควิชาเภสัชกรรมคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในคณะผู้พัฒนาฯ เปิดเผยว่างานวิจัยนี้เป็นการสร้างเครื่องสำหรับวิเคราะห์ลมหายใจ เพื่อจำแนกกลิ่นที่แตกต่างกันของคนติดเชื้อกับคนไม่ติดเชื้อ ซึ่งเป็นการต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีการพัฒนาเครื่องที่วิเคราะห์ลมหายใจในการวิเคราะห์โรคมาแล้ว โดยเครื่องแรกคือเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในกระแสเลือดโดยใช้ลมหายใจ ซึ่งใช้งานกับโรคเบาหวานมาแล้วกว่า 10ปี…
Read More

หวานเจี๊ยบ!กระทู้สดเพื่อไทยถามแก้หนี้-“จุลพันธ์”ตอบคืบหน้ามาก

หวานเจี๊ยบ! กระทู้สด “รองเลขาเพื่อไทย” ถามแก้หนี้ กยศ. …