Main

Weekend Focus : จับตารัสเซียทดลองใช้ ‘รูเบิลดิจิทัล’ แก้เกมตะวันตกคว่ำบาตร

รัสเซียเริ่มเปิดให้ผู้บริโภคในประเทศทดลองใช้ “รูเบิลดิจิทัล” ในสัปดาห์นี้ ด้วยความหวังว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรของต่างชาติ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญมองว่ามันอาจเป็นเครื่องมือให้ภาครัฐสามารถควบคุมการใช้ชีวิตของพลเมืองหมีขาวได้มากขึ้นไปอีก รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ชื่อว่ามีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency – CBDC) มากที่สุด โดยเริ่มเปิดการทดลองใช้รูเบิลดิจิทัลเฟสแรกกับสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และผู้บริโภคตั้งแต่วันอังคาร (15 ส.ค.) ที่ผ่านมา แม้โครงการทดสอบนำร่องจะครอบคลุมแค่การชำระเงินในวงเงินที่ไม่มาก เช่น การเติมเงินในวอลเล็ต การโอนเงินระหว่างบุคคล การซื้อสินค้าและบริการโดยใช้คิวอาร์โค้ด การชำระเงินอัตโนมัติที่ไม่ซับซ้อน และการหักบัญชีโดยตรง เป็นต้น แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าธนาคารกลางรัสเซียน่าจะมีแผนการที่ใหญ่กว่านั้นรออยู่ ธนาคารกลางรัสเซียได้ร่วมมือกับห้างค้าปลีก 30 แห่งใน 11 เมืองทั่วประเทศ ธนาคาร 13 แห่ง รวมถึงระบบรถไฟใต้ดินมอสโกทำโครงการนำร่องในเฟสแรก และคาดว่าจะขยายไปยังธนาคารอีกราว 16 แห่งในเฟสที่ 2 การทดสอบใช้งานรูเบิลดิจิทัลเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เงินรูเบิลรัสเซียอ่อนค่าลงแตะระดับที่ต่ำสุดเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่เดือน มี.ค. ปี 2022 เป็นต้นมา หรือไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่มอสโกเริ่มเปิดปฏิบัติการทางทหารรุกรานยูเครนเต็มขั้น แม้รัฐบาลรัสเซียจะมีแนวคิดในการสร้างสกุลเงินดิจิทัลมานานหลายปีแล้ว ทว่าการพัฒนารูเบิลดิจิทัลเพิ่งเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนหลังจากที่ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรเล่นงานเศรษฐกิจรัสเซียอย่างครอบคลุม และทำให้รัสเซียถูกปิดกั้นจากระบบธนาคารโลกบางส่วน ข้อมูลจากสภาแอตแลนติก (Atlantic Council) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในสหรัฐฯ ระบุว่า
Read More

Main

Opn ผงาดเพย์เมนต์โลก (Cyber Weekend)

จากจุดเริ่มต้นที่กรุงเทพฯ จนไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ และผ่านการร่วมทุนขยายบริการเป็นปึกแผ่นที่ญี่ปุ่น วันนี้ “อิศราดร หะริณสุต” สามารถพาบริการด้านการชำระเงิน “โอเพ่น” (Opn) หรือชื่อเดิมคือ โอมิเสะ (Omise) ไปโลดแล่นในเวทีโลกได้สำเร็จ ผลลัพธ์นี้ไม่ได้เกิดจากการเป็นสตาร์ทอัปที่ทุ่มเงินซื้อแพลตฟอร์มดิจิทัลคอมเมิร์ซและโซลูชันด้านการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้เท่านั้น แต่มาจากแผนการเตรียมพร้อมเพื่อขยายบริการด้านการเงินที่ครอบคลุมและทรงพลังยิ่งขึ้นในอนาคต รายได้ที่เติบโตปีละ 25-30% ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอ เพราะ Opn มองว่าการเป็นเพย์เมนต์เกตเวย์นั้นมีสัดส่วนกำไร หรือมาร์จิ้นที่บางมาก ดังนั้น จึงต้องการมองหารูปแบบธุรกิจใหม่ที่จะขยายมาร์จิ้นได้ 2-3 เท่า ปีหน้าจึงเป็นปีที่ Opn จะขยายไปสู่ธุรกิจที่จะเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก และบริการที่จะเกิดขึ้นนี้ยังไม่มีเจ้าใดทำมาก่อน Opn บอกใบ้ว่าบริการใหม่นี้จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล แต่ไม่ต้องดำเนินการขอไลเซนส์ คาดว่าจะมีการประกาศได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2566 ซึ่งจะเป็นปีแห่งการรับรู้ว่า Opn คือแบรนด์บริการด้านการเงินระดับโลกอย่างเต็มตัว ***เปิดประตูให้ทุกคน อิศราดร หะริณสุต ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Opn เล่าว่า Opn ก่อตั้งขึ้นในปี 2556 มีจุดเด่นเรื่องความเชี่ยวชาญทางด้านระบบการรับชำระเงินออนไลน์แบบครบวงจรและโซลูชันสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ปัจจุบันให้บริการทั้งร้านค้าและธุรกิจนับหมื่นรายทั่วโลก มีกิจการตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสหรัฐอเมริกา วิสัยทัศน์หลักของธุรกิจคือ “เปิดประตูสู่ธุรกิจดิจิทัลสำหรับทุกคน” ทำให้
Read More

Weekend Focus: ควีนเอลิซาเบธครองราชย์ครบ 70 ปี ประกาศหนุน ‘คามิลลา’ เป็น ‘ว่าที่ราชินี’
Main

Weekend Focus: ควีนเอลิซาเบธครองราชย์ครบ 70 ปี ประกาศหนุน ‘คามิลลา’ เป็น ‘ว่าที่ราชินี’

นับเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งสำหรับอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงครองสิริราชสมบัติยืนยาวครบ 70 ปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา สร้างสถิติเป็นองค์พระประมุขหญิงที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ท่ามกลางมรสุมข่าวฉาวที่ทำให้ความรักความศรัทธาต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษเสื่อมถอยลงทุกขณะ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 เมษายน ปี 1926 ณ บ้านเลขที่ 17 ถนนบรูตัน เมย์แฟร์ กรุงลอนดอน และได้รับการตั้งพระนามว่า “เอลิซาเบธ” ตามพระราชมารดา เจ้าหญิงเอลิซาเบธในวัย 21 พรรษา ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเรือโทฟิลลิปส์ เมานต์แบตเทน (ต่อมาคือเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินบะระ) ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ปี 1947 ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ และในอีก 5 ปีถัดมาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ปี 1952 ในขณะที่พระองค์และเจ้าชายฟิลิปอยู่ระหว่างเสด็จฯ เยือนเคนยา…
Read More

Weekend Focus: ส่องแผนอินโดนีเซีย ‘ย้ายเมืองหลวง’ จาก ‘จาการ์ตา’ สู่ ‘นูซันตารา’
Main

Weekend Focus: ส่องแผนอินโดนีเซีย ‘ย้ายเมืองหลวง’ จาก ‘จาการ์ตา’ สู่ ‘นูซันตารา’

เป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวในภูมิภาคอาเซียนที่น่าจับตามอง หลังจากรัฐสภาของอินโดนีเซียได้มีมติผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการย้ายเมืองหลวงของประเทศจากกรุงจาการ์ตาไปยังพื้นที่เกาะบอร์เนียวซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปราว 2,000 กิโลเมตร โดยจะตั้งชื่อเมืองหลวงแห่งใหม่นี้ว่า “นูซันตารา” (Nusantara) ซึ่งแปลว่า “หมู่เกาะ” ขณะที่โครงการดังกล่าวยังคงเผชิญกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา กฎหมาย New State Capital Law ได้วางกรอบการดำเนินงานทั้งในแง่ของงบประมาณก่อสร้าง รวมถึงการบริหารจัดการเมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งถือเป็นโครงการลงทุนระดับเมกะโปรเจ็กต์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แดนอิเหนา ซูฮาร์โซ โมโนอาร์ฟา รัฐมนตรีกำกับดูแลแผนพัฒนาแห่งชาติของอินโดนีเซีย แจ้งต่อรัฐสภาเมื่อวันจันทร์ (17) ว่า ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ได้เห็นชอบให้มีการตั้งชื่อเมืองหลวงใหม่ว่า “นูซันตารา” หลังจากที่ได้มีการหารือกับนักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ โดยพิจารณาคัดเลือกจาก 80 รายชื่อที่มีผู้เสนอมา เช่น เนอการา จายา (Negara Jaya) และนูซันตารา จายา (Nusantara Jaya) เป็นต้น สำหรับเหตุผลที่เลือกใช้ชื่อ “นูซันตารา” ก็เพราะว่าเป็นคำที่รู้จักกันมายาวนาน มีความเป็นสากล เรียบง่าย และมีความหมายสะท้อนถึงสภาพภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซียที่ประกอบด้วยหมู่เกาะจำนวนมาก อีกทั้งเป็นคำที่ประชาชนชาวอินโดนีเซียทุกภูมิภาคให้การยอมรับ ประธานาธิบดีวิโดโด ได้ประกาศไว้เมื่อปี 2019 ว่าจะย้ายศูนย์กลางการบริหารของประเทศจากจาการ์ตาไปยังพื้นที่ชนบทในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก ซึ่งในทางภูมิศาสตร์ถือว่าใกล้กับศูนย์กลางของหมู่เกาะอินโดนีเซีย…
Read More