กรมทางหลวงคาดทุบผิวจราจรต้นเหตุ “คานปูนถล่ม” เสียชีวิต 2 คน
Main

กรมทางหลวงคาดทุบผิวจราจรต้นเหตุ “คานปูนถล่ม” เสียชีวิต 2 คน

กรณีเกิดอุบัติเหตุคานปูนถล่มทับรถยนต์ บนถนนพระราม 2  บริเวณกิโลเมตรที่ 34 ฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งมีแผ่นปูนตกลงมาทับรถยนต์ของประชาชนที่สัญจร เสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 2 คน เมื่อคืนวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา
จากการตรวจสอบคานรับน้ำหนักระหว่างซ่อมพื้นผิวสะพานกลับรถตัวสะพานกลับรถ หรือ สะพานยูเทิร์น มีโครงสร้างหลัก คือ เสาตอม่อ คาน วางอยู่บนตอม่อ ซึ่งในระหว่างตอม่อ จะมีคาน 5 คาน และแผ่นปูน หรือแบริเออร์ เป็นตัวขอบกันตก
ส่วนที่ซ่อมแซม คือพื้นผิวการจราจร เป็นพื้นคอนกรีต ซึ่งรื้อออกแล้ว กำลังรอเทพื้นคอนกรีตใหม่ ยาว 12 เมตร ทำให้เหลือแต่คาน ลอยอยู่โดดๆ
ไทยพีบีเอส จำลองให้เห็นภาพเหตุการณ์ เมื่อรื้อพื้นคอนกรีตออก จึงเหลือแต่คาน โค้งๆ ที่ลอยอยู่ริมสุด น้ำหนัก 7 ตัน ประกอบกับเหล็กในคานอาจเสื่อมสภาพ และคาน ที่รับน้ำหนักจากแบริเออร์กันตก จึงแบะ และพลิกตกลงมา ในจังหวะที่รถวิ่งอยู่ด้านล่าง ทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ เป็นประชาชน 1 คน และเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวง เสียชีวิตที่โรงพยาบาล อีก 1 คน และบาดเจ็บ อีก 2 คน

 
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง ยืนยันว่า ช่วงที่เกิดเหตุ ไม่มีการปฏิบัติงานขุดเจาะ ที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน แต่การขุดเจาะเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ซึ่งอาจจะทำให้น้ำหนักกดทับของคานหายไป และทำให้ลูกยาง ที่อยู่ระหว่างคาน กับแผ่นปูนเคลื่อนที่
โดยสาเหตุที่ทรุดอาจมาจากการทุบพื้นสะพาน เพื่อเตรียมเทพื้นสะพาน และคานตัวริมเคลื่อนตัวและอีกสาเหตุอาจมาจากโครงสร้างสะพานเก่าเพราะเคยเกิดไฟไหม้ปี 2547 
หลังจากนำพื้นสะพานคอนกรีตน้ำหนักที่กดทับตัวคานหายไป และตัวที่แบริเออร์ รองคานน่าจะเกิดการขยับตัว เพราะน้ำหนักหายไป ทำให้เกิดการเคลื่อนตัว และช่วงที่ผ่านมาฝนตกหนักเบาบาง และน้ำฝนทำให้ตัวคานตัวริมหล่นลงไป 
นายสราวุธ กล่าวอีกว่า ส่วนที่ไม่ปิดจราจร เพราะปกติการรื้อพื้นคอนกรีต ไม่จำเป็นต้องปิด แต่ในอนาคตจากบทเรียนที่เกิดขึ้น จะต้องปิดการจราจร ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ถือเป็นบทเรียนสำคัญ จากรับราชการมา 36 ปีไม่เคยเจอเหตุการณ์นี้ 

 
ผู้เชี่ยวชาญคาดประมาทขณะซ่อมแซม
ภาพนี้ ถ่ายจาก googlemap เมื่อ 6 เดือนก่อน ทำให้เห็นช่องว่าง ของข้อต่อใต้สะพานกลับรถ รศ.ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ผู้ช่วยคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ช่องว่างนั้น เป็นระยะห่างปกติ ของชิ้นส่วนโครงสร้างถนน หรือสะพานที่นำมาต่อกัน ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้คานปูนหล่นลงมา แต่ประเมินว่า สาเหตุเกิดจากความประมาท ของการซ่อมแซม
การรื้อถอนหรือก่อสร้าง วิศวกร ต้องประเมินไปข้างหน้า เช่น เคสนี้มีการเปิดพื้นผิวคอนกรีตไปแล้วที่เป็นพื้นผิวออกเหลือแค่คานค้ำยัน เป็นช่วงที่มีจราจรหนาแน่นหรือไม่ ถ้าพบว่าเสี่ยงต้องบล็อกการจราจร เพื่อให้เกิดความปลอดภัย 
ผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า การซ่อมแซม หรือรื้อถอน วิศวกรต้องประเมินความเสี่ยงก่อนทุกครั้ง และถ้าผู้ใช้ทาง รู้สึกถนนขรุขระ เป็นเนิน เห็นรอยแตก หรือเหล็กโผล่ออกจากผิวถนน ให้หลีกเลี่ยงและแจ้งเจ้าหน้าที่ 
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
สั่งตั้งคณะกรรมการสอบปมสะพานลอยกลับรถถล่ม เสียชีวิต 2 เจ็บ 2 คน
 
 …
Read More

RT เผยรับรู้รายได้งานในมือต่อเนื่อง เดินหน้าประมูลงานใหม่เพิ่ม

ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง เผยทิศทางธุรกิจไตรมาสแรก แนวโน้มดี เดิ…

CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุขภาพหนึ่งเดียว

CPF ถ่ายทอดความสำเร็จการผลิตไก่เนื้อยั่งยืน ด้วยหลักสุข…

อาดิดาส จับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE+10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้แข้งเยาวชนหญิง

อาดิดาสจับมือเหล่าไอคอนแห่งวงการฟุตบอล ปลุกแคมเปญ “Jose…