Main

นศ.อาชีวะ ตระเวนแขวนป้ายวันสถาปนา ถูกอริไล่ยิงเจ็บ 2

วันนี้ (24 ม.ค.2566) เมื่อเวลา 01.00 น.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองสมุทรปราการ ได้รับแจ้งเหตุนักศึกษาอาชีวะทะเลาะวิวาท โดยเหตุการณ์เกิดกลางถนนแพรกษา บริเวณสะพานลอยใกล้ซอยโตโย ต.ท้ายบ้านใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ หลังรับแจ้งจึงประสานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิร่วมกุศลสมุทรปราการ และเจ้าหน้าที่ป่อเต็กตึ๊ง เดินทางตรวจสอบ
ที่เกิดเหตุพบผู้บาดเจ็บเป็นชาย 2 คน ถูกปืนไม่ทราบขนาดยิงเข้าที่แขนขวา ส่วนอีกคนถูกยิงเข้าที่บริเวณขาทั้ง 2 ข้าง ได้รับบาดเจ็บ
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังพบปลอกกระสุนขนาด .38 ตกอยู่กับพื้น จำนวน 6 ปลอก ระเบิดปิงปอง 6 ลูก ปืนปากกา 1 กระบอก และกระสุนขนาด .38 จำนวน 3 นัด ตกอยู่ข้างทาง เจ้าหน้าที่จึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน
สอบสวนกลุ่มวัยรุ่นที่บาดเจ็บ ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุตนเองพาศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน วิทยาลัยอาชีวะแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ รวมทั้งหมด 14 คน พากันขี่รถจักรยานยนต์ตระเวนแขวนป้ายของสถาบัน เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ที่จะจัดขึ้นในวันนี้ 24 ม.ค.นี้
ขณะขี่รถตระเวนหาที่แขวนป้ายบริเวณสะพานลอยและเสาไฟ ไปเผชิญหน้ากับกลุ่มคู่อริต่างสถาบันที่ขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายกันมา จำนวนหลายคัน รวมกว่า 20 คน ก่อนที่กลุ่มอริจะเปิดฉากปาระเบิดปิงปองใส่รถจักรยานยนต์ใส่กลุ่มตนแต่ไม่ระเบิด
จากนั้นปาใส่รถของรุ่นน้องอีกครั้งจนรถล้มลงทำให้รุ่นน้องต้องวิ่งหนีไปคนละทาง และเป็นฝ่ายถูกไล่ยิงและปาระเบิดใส่อีกหลายครั้ง
ส่วนฝั่งของตนเองไม่มีอาวุธติดตัว จึงใช้ก้อนหินปาตอบโต้อีกฝ่ายจนกระทั่งสิ้นเสียงปืนและระเบิดพบว่า รุ่นน้องถูกยิง 2 คน จึงรีบแจ้งตำรวจและกู้ภัยมาช่วยเหลือ
ทั้งนี้ สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีชาวบ้านถ่ายคลิปไว้ได้ พบว่า ระหว่างที่ชาวบ้านกำลังนั่งกินข้าวบริเวณร้านใกล้ที่เกิดเหตุ ก่อนที่จะมีเสียงระเบิดและปืนดังขึ้นหลายนัด
ชาวบ้านต่างพากันวิ่งหนีตายเข้าไปในร้านโดยทั้ง 2 ฝ่ายใช้เวลาก่อเหตุประมาณ 5 นาที จึงแยกย้ายกันหลบหนี
เบื้องต้นคาดว่า เหตุน่าจะมาจากเรื่องขัดแย้งระหว่าง 2 สถาบัน เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด และตรวจสอบพยานแวดล้อม เพื่อติดตามตัวกลุ่มวัยรุ่นที่ก่อเหตุมาดำเนินคดีต่อไป…
Read More

Main

โซเชียลแชร์ 7 บริการท้ากฎหมายแบบ “VIP” ในไทย

กรณีนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีน เผยแพร่คลิปรีวิวในโลกออนไลน์อ้างใช้บริการรถตำรวจนำขบวนไปส่งถึงที่พักในจ.ชลบุรี ซึ่งล่าสุดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพบว่ามีกระบวนการดังกล่าวและสั่งย้าย 3 ตำรวจ
วันนี้ (24 ม.ค.2566) สื่อสังคมออนไลน์ของจีน ยังระบุว่าเป็นบริการพิเศษ 7 อย่าง ที่สามารถใช้บริการได้เมื่อเดินทางมาไทย โดยข้อความเป็นภาษาจีน เมื่อแปลเป็นไทยจะได้ใจความว่า บริการดังกล่าวประกอบด้วย

บริการทำเด็กหลอดแก้ว
บริการตำรวจรับจากสนามบินแบบ VIP บอดี้การ์ด
บริการทำวีซ่าแบบ elite ระยะเวลา 5 ปี 10 ปี และ 20 ปี
บริการเปิดบัญชีธนาคารในไทย
บริการทำใบขับขี่ในไทย 
บริการเช่ารถ
บริการเช่าเรือยอชต์ บอดี้การ์ด และตำรวจนำขบวน

วิจารณ์สนั่นปมบริการ VIP ในไทย
นอกจากนี้ เพจ Drama-addict ยังได้นำข้อมูลที่อ้างว่ามาจากโซเชียลจีน ที่ระบุว่า “ภาพข้างล่างเป็นข้อความจากโซเชียลของจีน ผู้ให้บริการเดินทางเข้าไทยแบบ VIP แจ้งแก่คนที่สนใจว่า เนื่องจากช่วงนี้ มีบริการของเรา เป็นข่าวดังที่ไทยแล้ว ดังนั้นจึงขอปรับเรทราคาให้สูงขึ้น จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขณะที่ผู้คนสื่อสังคมออนไลน์ต่างมาแสดงความเห็นกันเป็นจำนวนมาก บางคนมองว่า เหมือนเขาไม่รับรู้ไม่สนใจว่าสิ่งนี้มันผิดกฎอะไรใดๆ เงินซื้อได้ทุกอย่างในประเทศนี้
แต่บางคนก็มีความเห็นที่แตกต่างไปเลย เช่นความเห็นนี้ ที่มองว่า มองในแง่ดี ก็เป็นการโปรโมทการท่องเที่ยว ถ้ารัฐทำบริการนี้ให้ดี อยู่บนดินไปเลย น่าจะดี เก็บแพงหน่อย เก็บเข้ารัฐ ก็เป็นบริการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวดี
ล่าสุดมีรายงานว่าข้อความ และภาพบริการ 7 อย่างเหล่านี้ถูกลบออกไปจากสื่อสังคมออนไลน์ของจีนแล้ว
อ่านข่าวเพิ่ม เรียก “กลุ่มทัวร์จีน” ใช้รถนำขบวนสอบ ตร.ส่อโดนทั้งอาญา-วินัย
ชาวจีนนิยมทำ “เด็กหลอดแก้ว” ในไทย
เป็นโพสต์ของสำนักข่าวซินหัวของจีน ที่เคยเผยแพร่ไว้เมื่อ 2559 ในช่วงที่จีนยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวได้เกือบ 1 ปี โดยระบุว่า หลังจากที่นโยบายลูกคนที่สองของจีนเริ่มบังคับใช้ก็มีคู่สามีภรรยาจีนส่วนหนึ่งที่สนใจมาใช้บริการทำ “เด็กหลอดแก้ว” หรือ IVF ที่ประเทศไทย โดยอ้างว่า นักข่าวจีนได้ไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว พบว่าในบรรดาผู้หญิงที่มาเข้ารับบริการ 8 ใน 10 คือหญิงชาวจีน
พร้อมระบุสาเหตุที่คนจีนเลือกมาไทย เพราะอัตราการประสบความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วของไทยค่อนข้างสูง คือ ประมาณร้อยละ 60 ซึ่งสูงกว่าหลาย ๆประเทศในเอเชียและยังมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมาก
ไทยพีบีเอสค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม พบว่า ค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วในไทย เริ่มที่ประมาณ 150,000 บาท ไปจนสูงสุดถึง 300,000-500,000 บาท  ซึ่งสถานพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ มีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อออนไลน์เป็นทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบต้นคลิปอ้าง ตร.ไทยขับรถนำขบวน นทท.จีน ถูกลบแล้ว
เด้ง 2 ตร.จราจร ปมคลิปนักท่องเที่ยวจีนจ้างนำส่งโรงแรม…
Read More

Main

ทอ.สั่งสอบ “กองบิน 7” ปมเบิกค่าฝึกบินกลางคืน แต่ไม่ได้บินจริง

วันนี้ (24 ม.ค.2566) จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับการเบิกค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานภารกิจฝึกบินกลางคืน ของฝูงบิน 702 กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี อ้างว่าไม่ได้ปฏิบัติงานจริง แต่มีชื่อเบิก และให้โอนเงินดังกล่าวคืนให้ผู้รับผิดชอบการเบิกจ่าย นั้น
พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า ผู้บัญชาการทหารอากาศได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้สั่งการให้กรมจเรทหารอากาศลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานผลให้ทราบโดยด่วน เพื่อจะได้ตอบข้อสงสัยของสังคมต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา ผู้บัญชาการทหารอากาศได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงาน กำกับดูแลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ กองทัพอากาศยึดมั่นในแนวทางการปฏิบัติราชการด้วยความโปร่งใส และจะดำเนินการโดยเด็ดขาด หากตรวจสอบพบว่ามีการกระทำที่ผิดระเบียบที่เกี่ยวข้อง…
Read More

Main

นาซาเสนอแผนสร้างกล้องโทรทรรศน์บนดวงจันทร์ ไขปริศนายุคแรกเริ่มของจักรวาล

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ดวงจันทร์ก็ได้กลับกลายมาเป็นพื้นที่ของการแข่งขันทางด้านอวกาศระหว่างชาติมหาอำนาจกันอีกครั้ง นับตั้งแต่ที่สหรัฐฯ ประกาศเปิดตัวโครงการอาร์ทิมิส (Artemis) โครงการที่จะพามนุษย์ไปตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ซึ่งมีจะมีการสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่รอบวงโคจรของดวงจันทร์และสถานีวิจัยบนพื้นผิวบริเวณขั้วใต้เพื่อรองรับการทำงานของนักบินอวกาศในอนาคต
โดยหนึ่งในแนวคิดสุดล้ำยุคจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา (National Aeronautics and Space Administration – NASA) ที่ได้เสนอออกมาแต่ยังไม่ได้กลายเป็นภารกิจอย่างเป็นทางการนั้น ก็คือแนวคิดเรื่องการสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ณ บริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ขึ้นมา ซึ่งกำลังอยู่ในแผนพัฒนาขั้นต้นอยู่

ทั้งนี้ สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังมองหาอยู่นั้น ก็คือสัญญาณของแก๊สไฮโดรเจนเมื่อราว 13,600 – 13,800 ล้านปีที่แล้ว ในยุคสมัยที่ยังไม่มีดาวฤกษ์ใด ๆ ถือกำเนิดขึ้นมามอบแสงสว่างและความอบอุ่นให้แก่เอกภพเลยแม้แต่ดวงเดียว หรือที่นักดาราศาสตร์เรียกว่า “ยุคมืดของเอกภพ” (Cosmic Dark Ages)
เนื่องจากในตอนนั้น ปรากฏการณ์บิกแบง (Big Bang) เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานเพียงพอที่แก๊สไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุแรกที่เกิดขึ้นมา จะมารวมตัวกันภายใต้แรงโน้มถ่วงจนกลายมาเป็นดาวฤกษ์ได้ และถ้าหากไม่มีดาวฤกษ์ก็หมายความว่าธาตุทั้งหลายที่เกิดจากแรงดันมหาศาลภายในแกนกลางของดาวฤกษ์ อย่างเช่น คาร์บอน หรือออกซิเจน ก็ยังไม่มีอยู่ในเอกภพเช่นกัน
ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลของไฮโดรเจน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนของสสารมากกว่า 99% ในยุคนั้น จะช่วยต่อยอดให้นักวิทย์สามารถศึกษาองค์ประกอบนอกเหนือจากสสารปกติได้ อันได้แก่ “สสารมืด” สสารที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ทำให้เกิดโครงสร้างเครือข่ายของกาแล็กซีนับล้านขึ้นมา และ “พลังงานมืด” พลังงานที่ส่งผลให้เอกภพขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้อีกทีหนึ่ง
ส่วนสาเหตุที่กล้องโทรทรรศน์วิทยุบนโลกไม่สามารถวิเคราะห์สัญญาณธาตุไฮโดรเจนในยุคแรกเริ่มของเอกภพได้นั้น ก็เพราะว่าการขยายตัวของเอกภพได้ทำให้ความยาวคลื่นของไฮโดรเจนถูกยืดออกไปอย่างมหาศาล จากความยาวคลื่น 21 เซนติเมตรตามปกติ กลายเป็นมากกว่า 100 เมตรขึ้นไป ซึ่งยาวกว่าคลื่นวิทยุ FM ที่เป็นที่รู้จักกันดีเสียอีก
และเมื่อคลื่นยิ่งยาว พลังงานยิ่งน้อย ก็ยิ่งตรวจจับยาก ทำให้ต้องใช้จานรับสัญญาณที่ใหญ่ขึ้น และยิ่งอ่อนไหวต่อการรบกวนจากแหล่งกำเนิดสัญญาณอื่น ๆ โดยเฉพาะจากกิจกรรมการสื่อสารบนโลกตามที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นการไปสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุบนด้านไกลของดวงจันทร์จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่สุดที่จะศึกษายุคมืดของเอกภพ

แต่อย่างไรก็ดี การก่อสร้างกล้องฯบนดวงจันทร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสักทีเดียว ถึงแม้จะมีแรงโน้มถ่วงที่ต่ำกว่าโลกก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดด้านจรวดขนส่งในปัจจุบันที่ไม่สามารถบรรจุสัมภาระขนาดใหญ่ อย่างจานรับสัญญาณขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 กิโลเมตรได้
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้องค์การนาซาต้องทุ่มเงินออกแบบกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และวิธีการสร้างแบบละเอียดไปราว 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ กว่าจะได้แผนการที่พอเป็นไปได้คร่าว ๆ ออกมา โดยเริ่มจากการเปลี่ยนการใช้เสาที่มีความสูงมากในการขึงจานแบบบนโลก ไปใช้การห้อยจานรับสัญญาณลงมาจากขอบของแอ่งหลุมอุกกาบาตแทน ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทรงพาราโบลาอยู่แล้ว หลังจากนั้นก็ได้มีการปรับแก้ตัวจานรับสัญญาณจากที่เป็นแผงเรียบ ๆ แผงเดียวใหญ่ ๆ ให้เป็นตาข่ายเส้นลวดอะลูมิเนียมแบบพิเศษแทน 

โดยนาซาจะใช้ให้หุ่นยนต์ตัวหนึ่งทำหน้าที่ขึงใยไปมาคล้ายกับแมงมุม ในขณะที่หุ่นยนต์อีกกลุ่มหนึ่งจะทำหน้าที่ขึงเคเบิลเป็นรูปเครื่องหมายบวก เพื่อติดตั้งตัวเซนเซอร์รับสัญญาณให้เหนือจุดกึ่งกลางของจานพอดี เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ในปัจจุบันหน่วยงานห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น หรือ JPL ของนาซานั้นก็ได้กำลังพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะใช้ในการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุบนดวงจันทร์อยู่ หากแผนการทดสอบเป็นไปได้อย่างราบรื่นโครงการนี้ก็อาจเกิดขึ้นจริง ๆ ในช่วงทศวรรษที่ 2030 พร้อมกับการสร้างถิ่นฐานบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ตามแผนการในโครงการอาร์ทิมิส
ที่มาข้อมูล: NASAที่มาภาพ: NASA“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci &amp…
Read More

Main

โชว์ฝีมือคนไทยถ่าย “ดาวหาง ZTF” จากดอยอินทนนท์

วันนี้ (24 ม.ค.2566) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT เผยภาพภาพถ่ายดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) ซึ่งเป็นภาพถ่ายฝีมือคนไทย ถ่ายจากยอดดอยอินทนนท์ จ. เชียงใหม่ ในวันที่ 22 ม.ค.2566 ช่วงเช้ามืด เวลาประมาณ 04.00-05.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวหางดังกล่าวผ่านจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวงโคจร (ตำแหน่ง Perihelion) มาแล้ว และเริ่มปรากฏหางที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ 
จากภาพมีหางปรากฏจำนวน 3 หาง ได้แก่ “หางไอออน” มีลักษณะยาวที่สุด ชี้ตรงไปยังมุมซ้ายบน “หางฝุ่น” มีลักษณะฟุ้งๆ ไปทางซ้าย แม้ตอนนี้จะยังดูไม่ยาวมากนัก แต่มีโอกาสที่จะสังเกตเห็นหางฝุ่นยาวขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้ และสุดท้ายคือหางชนิดพิเศษ เรียกว่า “Antitail” เป็นอนุภาคฝุ่นขนาดใหญ่ ที่ไม่ถูกรังสีของดวงอาทิตย์พัดออกไป
มุมมองของผู้สังเกตบนโลก จึงมองเห็นในลักษณะเป็นเส้นแหลมชี้เข้าหาดวงอาทิตย์ และมักชี้ไปยังทิศทางตรงข้ามกับหางอื่น ปราฎเห็นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เฉพาะช่วงที่ดาวหางโคจรอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และโลกของเราโคจรผ่านหรือเข้าไปใกล้กับระนาบวงโคจรของดาวหาง เมื่อนั้นโลกของเราจะอยู่ในมุมมองด้านข้างของแนวฝุ่นเหล่านี้พอดี เราจึงมองเห็นเป็นหางที่ 3 ของดาวหางเพิ่มขึ้นมานั่นเอง
ดาวหาง เป็นวัตถุหนึ่งในระบบสุริยะ ประกอบด้วย น้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารประกอบระเหิดง่าย รวมถึงฝุ่นและหินปะปนกันอยู่ มีแหล่งกำเนิดอยู่บริเวณนอกระบบสุริยะ และใช้เวลาหลายปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อโคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน จะปรากฏเป็นวัตถุสว่างที่มีหางพาดผ่านท้องฟ้าในยามค่ำคืน แต่ละหางคือสสารต่าง ๆ ที่ดาวหางปล่อยออกมาแล้วสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์
สำหรับผู้ที่สนใจติดตามชมดาวหาง C/2022 E3 (ZTF) ในช่วงนี้ ยังไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะสังเกตได้ผ่านกล้องสองตา หรือกล้อง โทรทรรศน์กำลังขยายตั้งแต่ 10 เท่าขึ้นไป ปรากฏบนท้องฟ้า บริเวณกลุ่มดาวมังกร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลาประมาณ 01.30 น…
Read More

Main

Dead Cells ได้ปล่อย Teaser Trailer สำหรับ Return to Castlevania DLC

Motion Twin ผู้พัฒนาของเกม Dead Cells ได้เปิดเผย Teaser Trailer สั้น ๆ สำหรับ DLC ล่าสุดของเกมอย่าง Return to Castlevania โดย Teaser Trailer ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า DLC ตัวใหม่นี้จะมีลักษณะอย่างไรเมื่อเปิดตัว…
Read More

Main

Apex Legends ได้นำ Olympus ออกจากการหมุนเวียนแผนที่ชั่วคราว หลังจากปัญหาข้อความแสดงข้อผิดพลาด

Respawn Entertainment ได้นำ Olympus ออกจากการหมุนเวียนแผนที่ใน Apex Legends ชั่วคราวหลังจากผู้เล่นพบเจอบั๊ก เช่น ข้อความระบุความผิดพลาด โดยแผนที่ Olympus ได้เปิดตัวเมื่อต้นซีซั่น 7 เป็นแผนที่ที่สามที่เพิ่มเข้ามาสำหรับ Apex Legends ด้วยภูมิทัศน์ที่สดใสและมีสีสันที่เต็มไปด้วยจุดสนใจมากมาย แม้ว่าจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการหมุนเวียนแผนที่ตลอดทั้งฤดูกาล แต่ล่าสุดทีมพัฒนาได้เปิดเผยว่าผู้เล่นได้รับข้อความระบุความผิดพลาดเมื่อพยายามเล่นเกม โดยข้อความเหล่านี้เป็นผลมาจากปัญหาของแผนที่ Olympus…
Read More

Main

Tin Hearts ยืนยันวันวางจำหน่ายพร้อม Trailer ใหม่

Trailer ใหม่สำหรับ Tin Hearts เกม Puzzle Adventure ที่ได้รับรางวัล “เกม Nintendo Switch ที่มีคนคาดหวังมากที่สุด” จากงาน Gamescom Awards ปี 2022 ได้รับการปล่อยออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้แจ้งให้ผู้เล่นทราบว่าวันที่ 20 เมษายน จะเป็นวันที่พวกเขาสามารถดำดิ่งสู่โลกมหัศจรรย์ของมนุษย์จักรกลตัวจิ๋วในที่สุด…
Read More

Main

Genshin Impact ปล่อยตัวอย่างโปรโมทกิจกรรม Lantern Rite พร้อมนำฉาก 4 เทพนั่งร่วมโต๊ะที่หลายคนคาดหวังมานาน !!

เล่นใหญ่จัดเต็มแบบสุด ๆ หลังจากที่ตัวเกม Genshin Impact ประกาศอัปเดตตัวเกมเข้าสู่เวอร์ชั่น 3.4 ซึ่งมาพร้อมกับ กิจกรรมเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในช่วงปีใหม่/ตรุษจีน ประจำปี 2023 ในเทศกาล Lantern Rite และยังทำฉากคัทซีนของการเฉลิมฉลองออกมาได้อย่างอลังการงานสร้างแบบสุด ๆ…
Read More