Main

สลายขั้ว : การเมืองแบบ “โอบหนู กอดงูเห่า” ใต้เงาอำนาจนิยม / Phichai Ratnatilaka Na Bhuket

“ปัญญาพลวัตร” “ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต” ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคเพื่อไทยเดินสายรวบรวมเสียงจากพรรคการเมืองต่าง ๆ เพื่อให้ได้เสียง ส.ส. เกิน 250 ในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก และได้เสียงอย่างน้อย 375 เสียงในรัฐสภาสำหรับการโหวตนายกรัฐมนตรี แผนการต่าง ๆ ถูกวางไว้อย่างเป็นขั้นตอน รวมทั้งการพยายามสร้างความชอบธรรมในการดึงพรรคที่มีจุดยืนทางการเมืองต่างขั้วเข้ามาสนับสนุน ยุทธการ “โอบหนู กอดงูเห่า ใต้เงาอำนาจนิยม” จึงเกิดขึ้น พรรคเพื่อไทยเริ่มต้นจัดตั้งรัฐบาลด้วยการจับมืออย่างเป็นทางการกับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเดิมที่เคยขับเคี่ยวกันมาอย่างหนักในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ในอดีต พรรคเพื่อไทยเคยอภิปรายไม่ไว้วางใจแกนนำพรรคภูมิใจไทยหลายครั้ง และในการหาเสียงเลือกตั้งก็ได้วิพากษ์วิจารณ์และโจมตีพรรคภูมิใจไทยอย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะการใช้กลยุทธ์หาเสียงที่เรียกว่ า “ไล่หนู ตีงูเห่า” หนูในที่นี้คือชื่อเล่นของนายอนุทิน ชาญวีรกุล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ส่วนงูเห่าคือ ส.ส. ที่ย้ายพรรคไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย เมื่อถูกถามว่า ทำไมพรรคเพื่อไทยจึงไปจับมือกับพรรคภูมิใจไทย ทั้งที่เคยโจมตีพรรคภูมิใจไทยอย่างหนักหน่วงมาก่อน คำตอบจากหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคือ คำพูดและการรณรงค์ช่วงก่อนการเลือกตั้งเป็นเพียงเทคนิคการหาเสียงเพื่อให้ได้คะแนนนิยม การตอบเช่นนี้ นัยระหว่างบรรดทัดที่ต้องการสื่อสารคือ การหาเสียงเป็นเพียงละครฉากหนึ่ง ที่พรรคการเมืองสร้างบทขึ้นมาเพื่อความบันเทิงแก่ประชาชนเท่านั้น อย่าไปจริงจังอะไรกับมันมากนักเลย เมื่อผ่านไปแล้วก็ขอให้ลืม ๆ กันไปเสียเถิด แบบแผนการตอบในลักษณะที่ว่า “อย่าให้ความสำคัญกับถ้อยแถลงหรือคำประกาศระหว่างหาเสียง”
Read More

Main

พรรคเพื่อไทยกับพลังประชารัฐ: ปัจจัยของการเติบโตและการถดถอย (1) / Phichai Ratnatilaka Na Bhuket

“ปัญญาพลวัตร” พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต การเลือกตั้งกำลังใกล้เข้ามาทำให้พรรคการเมืองเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคัก ในบรรดาพรรคการเมือง ดูเหมือนว่า พรรคเพื่อไทยมีการเติบโตอย่างร้อนแรงมากที่สุด เปิดเกมรุกรอบด้าน ดำเนินการหาเสียงอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายแลนด์สไลด์ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ขณะที่พรรคพลังประชารัฐดูซบเซา ระส่ำระสาย แตกแยก และส่อแววถดถอยมากที่สุด ความร้อนแรงของพรรคเพื่อไทยเห็นได้ชัดจากการสำรวจคะแนนนิยมของพรรคการเมืองครั้งที่ 3/2565 ในเดือนกันยายนของนิด้าโพล พรรคเพื่อไทยมีคะแนนนิยม 34.44 % สูงที่สุดในบรรดาพรรคการเมือง และในการสำรวจแบบเจาะในรายภาคเมื่อต้นเดือนตุลาคม ซึ่งเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้รับความนิยมสูงถึง 54.35 % ความนิยมนี้ยังเห็นได้จากผลการเลือกตั้งจริงอย่างเป็นรูปธรรมในการเลือกตั้งซ่อมนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ดที่ผ่านมา ซึ่งผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยได้รับชัยชนะด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นทั้งสองจังหวัด ปัจจัยที่ทำให้ความนิยมของพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นมาจากทั้งภายนอกและภายใน ปัจจัยภายนอกคือ ความล้มเหลวในการบริหารประเทศของรัฐบาลประยุทธ์ ส่วนปัจจัยภายในคือ การสนับสนุนทุกมิติอย่างเต็มพิกัดของตระกูลชินวัตร การใช้ยุทธศาสตร์ครอบครัวเพื่อไทย การตอกย้ำผลิตซ้ำคำขวัญ “แลนด์สไลด์” การนำเสนอนโยบายที่สร้างความหวังทางเศรษฐกิจ การเลือกเสนอชื่อบุคคลที่มีศักยภาพการบริหารสูงเป็นนายกรัฐมนตรีที่สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนได้ และการเปิดประตูรับ ส.ส. ที่เคยอยู่พรรคเพื่อไทยมาก่อนคืนกลับมา ความล้มเหลวในการบริหารประเทศของรัฐบาลประยุทธ์ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงสามปีเศษที่ผ่านมา ประชาชนสามารถรับรู้ได้ไม่ยากนักผ่านประสบการณ์ในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าบริโภคราคาแพง รายได้ประชาชนลดลง ขณะที่หนี้สินเพิ่มขึ้น ธุรกิจขนาดเล็กและกลางล้มละลายเป็นจำนวนมาก คนตกงานมากขึ้น และผู้คนจำนวนมากต่างรู้สึกสิ้นหวังกับการยกระดับคุณภาพชีวิตทางเศรษฐกิจของตนเอง…
Read More